9 กันยายน 2553

วัดเล่งเน่ยยี่2 บางบัวทอง วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

วัดเล่งเน่ยยี่2 บางบัวทอง

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์



วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ฯ ตั้งอยู่ ตำบลโสนน้อย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เดิมเป็นโรงเจขนาดเล็ก มีพื้นที่ 2 ไร่เศษที่ชาวบ้านบางบัวทองให้ความศรัทธามาเนิ่นนาน ต่อมาคณะสงฆ์จีนนิกาย มีปณิธานจะพัฒนาที่ส่วนนี้ให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ เพื่อที่จะสร้างเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเนื่องในวโรกาสเถลิงถวัลย์ ครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี


ปัจจุบันวัดบรมราชากาญจนาภิเษกฯ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๒ ไร่โดยคณะสงฆ์จีนนิกายได้มอบหมายให้พระเดชพระคุณพระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (ท่านเจ้าคุณเย็นเชี้ยว) ดำเนินการก่อสร้างและพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เป็นประธานที่ปรึกษา พร้อมทั้งพุทธบริษัทไทย- จีนร่วมกันสร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยปีกาญจนาภิเษก ทางวัดมังกรกมลาวาสได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกสมเด็จองค์ประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชานุญาตให้สร้างวัด และพระราชทาน นามว่า วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ซึ่งมี คุณแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการสำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาต อันนำมาซึ่งความปีติยินดีของชนชาวไทยเชื้อสายจีนและความซาบซึ้งในพรมหากรุณาธิคุณที่มีต่อคณะสงฆ์จีนมาโดยตลอด

วัตถุประสงค์การสร้างวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ฯ

1. เพื่อเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ

แสดงความจงรักภักดี กตัญญูกตเวทิตาถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระมหาบูรพกษัตริย์ไทยที่คณะสงฆ์จีนนิกายได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร

2. เพื่อตั้งเป็นพุทธสถานให้พุทธศาสนิกชน ได้ปฏิบัติธรรมและประกอบพิธีกรรม พร้อมทั้งเป็นที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจีนนิกาย

3. เพื่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ไทย-จีน เป็นที่ศึกษาพระธรรมวินัยของพระภิกษุสามเณร และสร้างศาสนทายาทของพระพุทธศาสนาสืบไป



ภายในวัดมีการตกแต่งด้วยสภาปัตยกรรมที่สวยงาม เนื่องจากวัดเล่งเน่ยยี่2 เป็นวัดขก่าแก่ของจีน ซึ่งหากเดินทางไป ก็ไม่ผิดหวังแน่นอน

เพราะนอกจากจะได้ชมความสวยงามของสถาปัตยกรรมแล้ว ยังได้ไหว้พระเจ้าแม่กวนอิม และทำบุญเสริมสิริมงคลแก่ชีวิตอีกด้วย



ลักษณะสถาปัตยกรรมวัดบรมราชาฯ

- สร้างแบบศิลปะจีนล้วนๆ เป็นพุทธศิลป์ในราชวงศ์หมิงชิง

- มีการวางผังตามแบบวัดพุทธศาสนานิกายฌาน ตัวอาคารจะวางผังล้อมลาน เรียกว่า ซี่เตี่ยมกิม

- การจัดวางวิหารถือตามแบบวัดหลวง โดยมีวิหารจตุโลกบาลเป็นวิหารแรกพระอุโบสถอยู่กลาง ด้านหลังพระอุโบสถมีวิหารบูรพาจารย์ ส่วนวิหารอื่นๆ อยู่ประกอบสมดุลซ้ายขวา



โลโก้จำลองวัดเล่งเน่ยยี่ 2

บริเวรหน้าทางเข้าสักการะพระพุทธองค์

พระพุทธรูปทองคำเรียงนับพันองค์ เป็นการตกแต่งภายในที่สวยงามมาก

การเดินทาง

จากตัวเมืองนนทบุรี ไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้าฯ ถึงสี่แยกบางพลู เลี้ยวขวาไปยังอำเภอบางบัวทอง ทางเข้าวัดจะอยู่ด้านซ้ายมือก่อนถึงโรงเรียนเทศบาลวัดละหาร


- จากกรุงเทพฯ มาตามถนนกาญจนาภิเษก (ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี) กลับรถเลี้ยวเข้าตามเส้นทางไปโรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ วัดอยู่ถัดจากศูนย์เยาวชนเทศบาล

สามชุก ตลาดร้อยปี (:

ส า ม ชุ ก ต ล า ด ร้ อ ย ปี



เป็นตลาดห้องแถวไม้ 2 ชั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี(ท่าจีน) และรายล้อมด้วยบรรยากาศของบ้านเรือนรวมถึงเรื่องราวของผู้คนในอดีต โดยแทบไม่มีการดัดแปลงเสริมแต่ง ย้อนอดีตกลับไปยุคสมัยที่ตลาดสามชุกเฟื่องฟู ยุคนั้นชาวบ้านจะนำของพื้นเมือง รวมทั้ง เกลือ ฝ้าย แร่ สมุนไพร มาแลกเปลี่ยนซื้อขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ ต่อมาเมื่อริมแม่น้ำสุพรรณ กลายเป็นแหล่งทำนาที่สำคัญ มีโรงสีไฟขนาดใหญ่เกิดขึ้นหลายแห่ง ตลาดสามชุกก็กลายเป็นตลาดข้าวที่สำคัญ มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ทำให้ตลาดสามชุกไม่จำกัดบริเวณอยู่เฉพาะริมน้ำ แต่ยังขยายมาถึงริมฝั่ง โดยแต่ละปีมีการเก็บภาษีได้จำนวนมาก พร้อมๆกับมีการตั้งนายอากรคนแรก ชื่อ ขุนจำนง จีนารักษ์

ประวัติ"ตลาดร้อยปีสามชุก"

เดิมทีเดียว "บริเวณปัจจุบัน" เรียกว่า ท่ายาง ซึ่งที่ตั้งอำเภอเก่าอยู่ที่ นางบวช (ปัจจุบัน ต.นางบวช อ.เดิมบางนางบวช)

- พ.ศ.2437 สมัยรัชกาลที่ 5 ชื่ออำเภอนางบวช โดยมีขุนพรมสภา นายอำเภอคนแรก

- พ.ศ.2457 สมัยรัชกาลที่ 6 ย้ายอำเภอมาที่บ้าน สำเพ็ง สมัยนั้นเป็นย่านการค้าสำคัญ โดยตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ที่ชาวบ้านสมัยนั้นเรียกว่า บ้านท่ายาง เป็นสถานที่ที่นำของป่ามาค้าขาย กันทุกทิศทุกทาง คล้ายเป็นทาง "สามแพร่ง" ต่อๆ มาเพี้ยนมาเป็น "สำเพ็ง"

- พ.ศ.2481 สมัยรัชกาลที่ 8 ได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอนางบวช มาเป็น"อำเภอสามชุก" เพราะเดิมชื่อ "สำเพ็ง" และเพี้ยนมาเป็น "สามชุก" ในที่สุด ก็เพราะว่า คนที่มาค้าขายระหว่างรอสินค้าเพื่อแลกเปลี่ยนกัน มีเวลาว่างก็นำไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของขาย ที่เรียกว่า "กระชุก" ต่อๆ มาชาวบ้านจึงเรียก "สามแพร่ง" ผสมกับ "กระชุก" จึงได้มาเป็น "สามชุก" อย่างทุกวันนี้


การเดินทาง

พวกเราเดินทางโดยรสตู้ ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงครึ่ง เมื่อไปถึงเราก็เริ่มตระเวนหาของกิน และถ่ายรูปเพื่อทำรายงาน ที่ตลาดมีของกินเยอะแยะมากมาย ส่วนมากจะเป็นขนมไทย ๆ ซึ่งหากินได้ยาก และเป็นของที่ระลึกซึ่งมีราคาถูก ส่วนของเล่นก็จะมีจำพวกของเก่าน่าสะสม ซึ่งหาซื้อยากในปัจจุบัน

ร้านแรกที่ไป เป็นร้านคุณไก่ ขายห่อหมกหม้อดิน รสชาติอร่อยมาก และมีขายที่ตลาดสามชุกที่เดียวเท่านั้น หากสนใจสามารถแวะไปชิมได้


ร้านที่สอง เป็นร้านน้ำพริกแม่กิมลั้ง หลายคนคงรู้จักเพราะมีชื่อเสียงมาก สินค้ามีคุณภาพ แถมราคาย่อมเยา


ร้านที่สามเป็นร้านขนมโบราณ แต่เจ้าของร้านนำมาแปลรูปด้วยการทำเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและดึงดูดให้เลือกซื้อ


เดินต่อมาเรื่อย ๆจะเป็นร้านขายของเล่นโบราณ ที่ทำขึ้นเอง เป็นของเล่นของเด็กสมัยก่อน ซึ่งหายากมากในสมัยนี้



ของเล่นจำพวกประทัด ซึ่งประดิษจากวัสดุธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณ และปลอดภัย100%


ดินต่อไปเรื่อย ๆ จะเป็นศาลเจ้าของชาวบ้านในละแวกนั้น

ยิ่งเดินต่อไปเรื่อย ๆ ก็จะมีร้านขายของต่าง ๆมากมายให้เลือกซื้อ อาทิเช่น



ร้านขายขนมโบราณ


ไม้แกะสลักเป็นรูปสัดว์ต่าง ๆ


ตะเกียงโบราณ ราคาถูก



ร้านบ้านโค้ก บริการทั้งส่งโปรการ์ด และขายของที่ระลึก


ร้านกาแฟอาม่า


ของที่ระลึก ก่อนกลับ เราก็ไม่ลืมที่จะซื้อของที่ระลึกติดไม้ติดมือไปฝากญาติ ๆที่บ้านด้วย


เสื้อยืด สามชุก


โปสการ์ด + บริการส่งทั่วประเทศ


กล่องไม้ขีด


ที่ติดรูป สัญลักษณ์สามชุก


แนะนำเส้นทางสู่ตลาดสามชุก จากกรุงเทพฯ ผ่าน อ. บางบัวทอง จ. นนทบุรี ไปจนถึงตัว จ.สุพรรณบุรี ระยะทางประมาณ 107 กม. จากนั้นไปตามหลวงหมายเลข 340 แยกเข้า อ. สามชุก ตัวตลาดอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณติดกับที่ว่าการอำเภอสามชุก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุก โทร. 0-3557-2449, 0-3550-4498 และ 0-1640-3327

8 กันยายน 2553

บทที่ 10 กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่

1.พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522

- คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งทุน และเงินสำรองของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- ระเบียบเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมและการบริหารงานของททท.

- ททท. มีมติแต่งตั้งนายสุรพล เศวตเศรนี เป็นผู้ว่าการ ททท.คนใหม่ เริ่มงาน 1 ม.ค. 53 เหตุยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งรองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด และรักษาการรองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน ททท. มีผล 31 ธ.ค.

2.พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545

- กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว

- ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนา

บริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

- ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลัก

3. พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 กำหนดให้มีการจัดตั้ง

สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1)เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงาน

2)ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

3)ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย

4)ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว

4.พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546 (รวม 5 ฉบับ)

- เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

- จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ

- คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

2. กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่

1.พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ..2522, 2523 และ 2542

- เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว

- ดูแลเกี่ยวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าว

- การควบคุมพาหนะที่เข้า-ออกประเทศตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือท้องที่ที่กำหนด

2.พระราชบัญญัติศุลกากร พ..2469 ถึง 2548

- เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาโดยลำดับ

- ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีกฎหมายศุลกากรใช้บังคับอยู่รวม 20 ฉบับ

- เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศ

3. กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวมีกฎหมายสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่

1. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ..2504

- เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติซึ่งต้องการให้มีการจัดการ การอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน

- อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ..2535 และ 2546

- เกี่ยวข้องกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าโดยคณะกรรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าเหล่านั้นถูกทำร้ายและสูญพันธุ์ในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ

- กิจกรรมการดูนก ส่องสัตว์ในบริเวณดังกล่าว สำหรับนักท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็นและเกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3) พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ..2507, 2522 และ 2528

- เกี่ยวข้องกับการจัดการดูแลพื้นที่บริเวณที่เป็นป่าสงวน

- ซึ่งปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ยังคงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ

4.พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484, 2522 และ 2525

- เกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ

- ควบคุมการตัดไม้ ทำไม้ และของป่าหวงห้าม รวมทั้งควบคุมการนำไม้และของป่าเคลื่อนออกจากป่า

- เพื่อมิให้มีการตัดไม้และทำลายไม้โดยไม่จำเป็น และสงวนไม้มีค่าบางชนิดเอาไว้

- มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของป่าให้ยั่งยืน

5) พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510, 2522 และ 2534

- การสำรวจแร่หรือทำเหมือง ถ้าพบโบราณวัตถุหรือซากดึกดำบรรพ์หรือแร่พิเศษอันมีคุณค่าแก่การศึกษาในทางธรณีวิทยา จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บได้ซึ่งวัตถุนั้น และผู้ถืออาชญาบัตรหรือผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือประทานบัตรจะต้องแจ้งต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องถิ่น

- มีส่วนในการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเช่นกัน

6. ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2520

- การสำรวจและทำสำมะโนที่ดินเพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และความเหมาะสมแก่การทำประโยชน์ของรัฐและประชาชน

- กระทรวงมหาดไทยได้อาศัยมาตรา 9 (2) ออกประกาศลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 มิให้มีการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพในบริเวณที่เขาหรือภูเขา และปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขาสูง 40 เมตร บริเวณแม่น้ำลำคลอง รวมถึงที่ดินของรัฐที่มิได้มีบุคคลผู้ใดมีสิทธิครอบครองเฉพาะบริเวณที่ดินที่เป็นหิน ที่กรวด หรือที่ทราย

7. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ..2485

เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและอนุรักษ์ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่สืบไปซึ่งกิจกรรมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมจัดเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ การดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ

8. พระราชบัญญัติรักษาคลอง รศ. 121

เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและจัดการกับพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ให้อยู่ในสภาพดีและเหมาะสม ปัจจุบันบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นการดำเนินการใดๆในพื้นที่แห่งนี้ต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเกาะรัตนโกสินทร์

9. พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ..2535

- เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน การกำกับดูแลโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และป้องกันการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ผิดกฎหมาย การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์

- ระบุให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด

- เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมการดำเนินการใดๆจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างเคร่งครัด

10. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ..2535

- การควบคุมมลพิษ เช่น มลพิษทางอากาศ เสียง ทางน้ำ ของเสียอันตรายฯลฯ

- การส่งเสริมรักษาและกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำ คลอง ชายฝั่งทะเล มาตรฐานคุณภาพอากาศ มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือน ฯลฯ

- การกำหนดมาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจาก โรงแรม อาคารชุด หอพักฯลฯ ในแหล่งท่องเที่ยวและควบคุมมลพิษจากแหล่งที่อื่นที่อาจจะส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง

11. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.. 2505 และ 2535

- ควบคุม ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะสงฆ์ ซึ่งรวมถึงที่ดินของวัดอันเป็นที่ตั้งของทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศาสนสถานและโบราณสถาน

- ห้ามแย่งการครอบครองหรือครอบครองปรปักษ์ที่วัด (คือ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น) หรือที่ธรณีสงฆ์ (คือ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด) นั้น และไม่ให้ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ตกอยู่ในข่ายของการบังคับคดี คือ ใครจะยึดไปขายทอดตลาดชำระหนี้ไม่ได้ เท่ากับทำให้วัดซึ่งเป็นที่ตั้งของศาสนสถานและโบราณสถานต่างๆ ยังคงดำรงอยู่ตลอดไป

- ห้ามมิให้เจ้าอาวาสหรือผู้แทนโอนที่ดินไปให้บุคคลใดได้ตามใจชอบ

- วัดและวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานยังต้องอยู่ในความควบคุมของพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

12. พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.. 2528

- กำหนดให้มีการเผาศพ หรือฝังศพในสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือเอกชนที่ได้มีผู้ดำเนินการอนุญาตจัดตั้งเท่านั้น จะไปเผาศพหรือฝังศพที่อื่นไม่ได้ เช่น ในที่ป่าไม้ ที่ภูเขา ที่น้ำตก ถ้ำ ฯลฯ ที่มีลักษณะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว เพราะจะทำให้ภูมิทัศน์ของพื้นที่เหล่านั้นเสียไป รวมไปถึงการก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข คือ อาจเป็นอันตรายในทางอนามัยแก่ประชาชนทั่วไปได้

- ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลง ต่อเติมสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือของเอกชน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น

- ข้อห้ามเช่นนี้มีประโยชน์ต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นสุสาน เช่น สุสานทหารสัมพันธมิตร จ.กาญจนบุรี สุสานสงครามช่องไก่ จ.กาญจนบุรี หรือสุสานเจ้าเมืองระนอง จ.ระนอง

13. พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย .. 128

- กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่จะให้มิสซังกรุงเทพ และมิสซังหนองแสง (นครพนม) ถือที่ดินในประเทศไทยเพื่อก่อตั้งวัดบาทหลวงและสถานที่พักสอนศาสนา

- วัดและสิ่งก่อสร้างทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกบางแห่งสร้างแบบสถาปัตยกรรมของยุโรป เช่น วัดอัสสัมชัญที่บางรัก หรือโบสถ์คาทอลิกในโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ใน จ.จันทบุรี สร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมกอธิค เป็นต้น

- เป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกประเภทหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการจะดูและศึกษาถึงการก่อสร้าง ประวัติความเป็นมา และความสวยงามของศาสนสถานนั้นๆ

14. พระราชบัญญัติการประมง พ.. 2490 และ 2528

- ควบคุม และดูแลทางด้านการประมง อนุรักษ์ที่จับสัตว์น้ำ เช่น กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด ทะเลสาบสงขลา หรือท่าน้ำหน้าวัดต่างๆ ที่มีปลาอาศัยอยู่ เช่น วัดไร่ขิง จ.นครปฐม วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เป็นต้น

- ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว เช่น ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์ (คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน หรือติดกับเขตสถานที่ดังกล่าว บริเวณประตูระบายน้ำ ฝาย หรือทำนบ) ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพของที่จับสัตว์น้ำหรือปลูกสร้างสิ่งใดหรือปลูกพืชพันธุ์ไม้ใดๆ ลงในที่จับสัตว์น้ำ ห้ามใช้วัตถุระเบิดหรือห้ามก่อภาวะมลพิษในแหล่งน้ำ เป็นต้น

15. พระราชบัญญัติโรงงาน พ..2512, 2522 และ 2535

- เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงงานและการจัดการโรงงาน เพื่อลดการส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อแหล่งท่องเที่ยว และในบริเวณใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยว

- โรงงานสุรา

16. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของชานเมือง พ..2535

เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพฯ พัทยา และเทศบาลซึ่งพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้อาจรวมถึงบริเวณแหล่งท่องเที่ยวด้วย

17. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ..2518, 2525 และ 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ..2522, 2535 และ 2543

เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารบริเวณแหล่งท่องเที่ยว การจัดการด้านผังเมือง การกำหนดเขตต่างๆในแหล่งท่องเที่ยว

4. กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว22 ฉบับ

4.1 พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ..2535

- การกำกับดูแลเรื่องของการจัดตั้ง ควบคุมการดำเนินงาน รวมทั้งการกำหนดบทลงโทษสำหรับธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ และธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้มาตรฐาน และไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว

- กำกับดูแลในเรื่องของการขอรับใบอนุญาตการขอต่ออายุ หรือยกเลิกการเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไปและมัคคุเทศก์เฉพาะด้วย เนื่องจากมัคคุเทศก์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในอันที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพนี้มีจรรยาบรรณแห่วิชาชีพอย่างแท้จริง

4.2 พระราชบัญญัติโรงแรม พ..2547

- เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยว

- การควบคุมดูแลและการให้บริการแก่ผู้พักอาศัยของเจ้าของกิจการ

4.3 พระราชบัญญัติสถานบริการ พ..2509, 2521, 2525 และ 2546

- เกี่ยวข้องกับการการให้คำจำกัดความของสถานบริการประเภทต่างๆ เช่น สถานเต้นรำ สถานที่ที่มีอาหาร สุราจำหน่าย สถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัวฯลฯ

- ระเบียบว่าด้วยการจัดตั้ง การควบคุมดูแล การให้บริการแก่ผู้รับบริการจากสถานบริการเหล่านั้นทั่วราชอาณาจักร

4.4 พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ..2535

- เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล และควบคุมมาตรฐานของภัตตาคาร ร้านอาหาร หรือกิจการประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องในด้านความสะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อสนองแนวคิดเรื่อง Clean food good taste เป็นต้น

- มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชน

4.5 พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ..2528, 2537, 2544

เกี่ยวข้องกับการจัดหางานภายในประเทศ และการไปทำงานในต่างประเทศสาขาการท่องเที่ยวของบริษัทจัดหางานให้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย

4.6 พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน ..2535

เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

4.7 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ..2520, 2534 และ 2544

เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจด้านโฆษณาของธุรกิจต่างๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

4.8 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ถึง 2548

กำหนดมาตรฐานการจัดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งอาจเป็นสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว เช่น ไวน์พื้นบ้าน สินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง เป็นต้น

4.9 พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542

เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย เช่น นวดแผนโบราณ เป็นต้น

4.10พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ 2541

เป็นกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองการบริโภคของบุคคลต่างๆ รวมถึงการคุ้มครองการบริโภค เช่น การซื้อ

ของที่ระลึก ของนักท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้

4.11 พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ถึง 2543

- การรถไฟแห่งประเทศไทย จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินกิจการตามที่กำหนดไว้ เช่น การสร้างทางรถไฟสายใหม่ เลิกกิจการในเส้นทางที่ปิดการเดินรถแล้ว ตั้งอัตราค่าโดยสาร เป็นต้น

- รถไฟฟ้าต้องไม่วางระเบียบ ตลอดจนกำหนดอัตราค่าขนส่งอันจะเป็นการขัดกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีในทางเศรษฐกิจการคลัง โดยได้รับการยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

4.12 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2546

- กำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก การขนส่งส่วนบุคคล การรับจัดการขนส่ง และสถานีขนส่งต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน

- รถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งผู้โดยสารต้องจดทะเบียนเสียภาษี และผ่านการตรวจสภาพเพื่อความมั่นคงแข็งแรงจากพนักงานตรวจสภาพรถหรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ

- ผู้ประจำรถ ได้แก่ ผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน

- ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งเพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ

4.13พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2542

เกี่ยวกับการใช้รถ สัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจร การใช้ทางเดินรถ ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วของรถและอุบัติเหตุจากรถยนต์

4.14 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ถึง 2547

แบ่งรถยนต์ออกเป็น 3 ประเภท คือ รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล

4.15 กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 259 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515

การรักษาทางหลวงให้คงทนถาวรและมีบทบัญญัติกำหนดประเภทและชนิดของทางหลวง การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวง รวมถึงประกาศกำหนดน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของยานพาหนะที่ใช้บนทางหลวง

4.16 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ.2494 ถึง 2543

การควบคุม ดูแลกิจการท่าเรือหรือธุรกิจเกี่ยวกับท่าเรือ ซึ่งหมายรวมถึงท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวด้วย

4.17 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ..2456 ถึง 2540

การควบคุมดูแล การจัดระเบียบการเดินเรือสมุทรเพื่อการท่องเที่ยวและกิจการท่องเที่ยวทางน้ำประเภทต่างๆ

4.18 ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2515

มาตรการป้องกันและปราบปรามการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นที่จอดเรือเพื่อพักอาศัยโดยไม่เคลื่อนที่เป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความสกปรกรกรุงรัง

4.19 พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 ถึง 2540

การออกทะเบียนเรือสำหรับการค้าในน่านน้ำไทย การโอนกรรมสิทธิ์เรือการจำนองและบุริมสิทธิอันเกี่ยวกับเรือ ชื่อเรือ การเปลี่ยนแปลงเรือ และการเปลี่ยนแปลงเมืองท่าขึ้นทะเบียน

4.20 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ.2522

การใช้และการห้ามใช้โคมไฟ การใช้ทุ่นเครื่องหมาย การใช้เสียงสัญญาณ สัญญาณเวลาอับจน การถือท้ายและการเดินเรือ รวมถึงกำหนดวิธี หลักการป้องกันเรือโดนกัน

4.21 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ..2497 ถึง 2542

เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวในส่วนของการชำระค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินของนักท่องเที่ยว

4.22 พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ถึง 2538

เกี่ยวกับการให้บริการท่าอากาศยาน และการอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ที่ใช้บริการท่าอากาศยาน แต่เดิมใช้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คือการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยแต่ปัจจุบันตาม พ.ร.บ. ฉบับล่าสุด (พ.ศ.2538) ปรับจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชนจำกัด