ทั่วไป
ประวัติความเป็นมา
สมัยกรีก – โรมัน มีการขายอาหารในระหว่างการเดินทาง ในสมัยโรมันมีร้านอาหารแบบ
Snack Bars (ที่มาของธุรกิจอาหารจานด่วน Fast Food) ต่อมายุคกลาง จำนวนร้านอาหารมีเพิ่มขึ้น
แต่ไม่มีคุณภาพยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ เกิดแนวคิดเรื่องธุรกิจที่พักอย่างจริงจัง
ในศตวรรษที่ 16 มีการนำเข้าชา – กาแฟ
** ค.ศ.1765 เกิดธุรกิจภัตตาคารที่ฝรั่งเศส โดยนายบลูลองเญอร์ ขายซุป
** ค.ศ.1782 ภัตตาคารแห่งแรกชื่อ Grande Taverne de Londres ที่ปารีส
** ในอเมริกา Delmonico และร้านอาหารราคาถูก ในนิวยอร์ก ค.ศ.1827 และ 1848
ธุรกิจร้านอาหารในยุคหลัง ๆ มีหลากหลายมากขึ้นทั้งรูปแบบและประเภทของอาหาร
เช่น McDonald เกิดขึ้นเมื่อปี 1948
คนไทยในช่วงยุคแรก นิยมเก็บอาหารไว้รับประทานเองในครัวเรือน ไม่นิยมกินข้าวนอกบ้าน
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นของชาวจีนย่านสำเพ็ง
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงปัจจุบัน มีอิสระในการดำเนินชีวิต ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
มาพร้อมกับโรงแรม
ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม
ปลายศตวรรษที่ 18 ที่ห้องอาหารในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการเน้นบริการอาหาร
ประเภทกับแกล้มหรืออาหารเบา ๆ (Light or Restoring Dishes) เราสามารถ
แบ่งประเภทของธุรกิจอาหารการบริการและเครื่องดื่มได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. ธุรกิจอาหารจานด่วน (Fast-Food Restaurants) เป็นธุรกิจอาหารที่กำลังได้รับความนิยม
และขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเหมาะกัสภาพสังคมที่รีบเร่งของผู้คนในเมือง ถึงแม้รายการ
อาหารที่บริการค่อนข้างจะมีจำกัดแต่ลูกค้าสามารถเลือกจะนั่งรับประทานในร้านหรือซื้อออกไป
ในราคาที่ค่อนข้างต่ำ
2. ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่ (Deli shops) เป็นธุรกิจที่ผสมผสานการให้บริการอาหารสำเร็จ
รูปแช่แข็ง และอาหาสำเร็จประเภทอื่น ๆ ปัจจุบันร้านอาหารประเภทนี้เป็นที่นิยมมาก
3. ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์ (Buffets) เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเองซึ่งปกติจะบริการเครื่องดื่ม
และจะให้บริการที่โต๊ะลูกค้าโดยตรงสำหรับอาหารจะเป็นบริการประเภททุกอย่างคุณสามารถกินได้
และตั้งราคาเดียวราคาไม่สูงมาก โดยปัจจุบันเน้นลูกค้าที่เป็นครอบครัวที่ออกมารับประทานอาหารนอกบ้าน
4. ธุรกิจคอฟฟี่ช้อพ (Coffee Shops) เน้นบริการอาหารแบบรวดเร็ว ลูกค้าหมุนเวียนเข้าไปรับ
ประทานอาหารโดยใช้เวลาน้อย และส่วนใหญ่จะให้บริการอาหารที่เคาเตอร์บริการ การตกแต่งร้าน
เป็นการตกแต่งแบบเรียบง่าย ไม่เน้นความหรูหราและราคาอาหารค่อนข้างต่ำ
5. ธุรกิจคาเฟทีเรีย (Cafeterias) เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตัวเอง โดยส่วนใหญ่รายการ
อาหารจะค่อนข้างจำกัดกว่าภัตตาคารทั่ว ๆ ไป
6. ธุรกิจอาหารกูร์เมต์ (Gourmet Restaurants) เป็นธุรกิจที่เน้นการให้บริการในระดับสูง
ทั้งในด้านของคุณภาพอาหาร การให้บริการของพนักงาน และการตกแต่งสถานที่แบบหรูหรา
โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานบริการในระดับสูง และพร้อมจ่ายเงินแพงเพื่อซื้อบริการที่พึงพอใจ
7. ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติ (Ethic Restaurants) เป็นธุรกิจที่ให้บริการอาหาร
เฉพาะรายการอาหารประจำท้องถิ่นหรือประจำชาติและจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มภัตตาคารแบบครอบครัว
อ า ห า ร ไ ท ย
ซึ่งถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไปทั่วโลกอาจเป็นเพราะรสชาติที่กลมกล่อม
และความสวยงามประณีต รวมทั้งขั้นตอนที่พิถีพิถันในการปรุง แบ่งออกเป็น 4 ภาค ได้แก่
อาหารไทยภาคกลาง และสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
1. อาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกงกะทิมาจากชาวฮินดู การใช้กระทะ
น้ำมันมาจากประเทศจีน ของหวานจำพวกทองหยิบ ทองหยอก ฝอยทอง มาจากชาวตะวันตกเป็นต้น
2. อาหารที่ต้องใช้ความประณีตในการประดิษฐ์ เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฏ ลูกชุป ข้าวแช่หรือผัก
ผลไม้แกะสลักต่าง ๆ
3. อาหารที่มักมีเครื่องเคียงของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือต้องแนมด้วยหมูหวานหรือไข่เค็ม แกงกะทิต้อง
แนมด้วยปลาเค็ม หรือสะเดาปลาเผาต้องคู่กับกุ้งเผาหรือปลาดุกย่าง
4. อาหารว่างและขนม เช่นข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ช่อม่วง ข้าวตัง หน้าตั้ง ขนมหวานที่ทำ
จากไข่และแป้งชนิดต่าง ๆ ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมกง เป็นต้น
อาหารไทยภาคเหนือ
โดยจะมีแบบฉบับการรับประทานอาหารโดยใช้โต๊ะกินข้าว ที่เรียกว่า "ขันโตก" โดยสมาชิกจะนั่ง
ล้อมวงเพื่อรับประทานอาหารกันพร้อมหน้า อาหารทางภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาลเพราะความหวาน
จะมาจากผัก ปลา และมะเขือเทศ โดยการทำอาหารมักทำให้สุก อาหารที่มักนิยมเป็นเครื่องแนม
กับอาหารอื่น เช่น แคบหมูใช้รับประทานคู่กับน้ำเงี้ยวน้ำพริกหนุ่ม ตำขนุน หนังปอง เป็นต้น
อาหารไทยภาคใต้
อาหารหลักจะเป็นพวกอาหารทะเล จำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ซึ่งอาหารพวกนี้จะมีกลิ่นคาวจึงใช้
เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาว อาหารใต้จะมีรสเผ็ดร้อน เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมกินอาหารที่มี
รสหวาน อาหารไทยภาคใต้ที่เป็นที่นิยมรับประทาน ได้แก่ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลาแกงเหลือง
ขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ เป็นต้น
อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พื้นที่เป็นที่ราบสูง มีภูเขาและป่าไม้น้อยกว่าทางภาคเหนือและภาคใต้ ดินส่วนใหญ่เป็น
ดินร่วนปนทราย กักเก็บน้ำได้น้อยจึงแห้งแล้งในหน้าร้อน แต่มีผักพื้นบ้านต่าง ๆ เช่น ผักจิก ผักกะแยง
ผักหูเสือ แคป่า เป็นต้น ภูมิประเทศกว้างเหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์ ประเภทวัวควาย จึงมักนิยมบริโภค
เนื้อสัตว์เหล่านี้
อาหารไทยภาคกลาง
มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากร ธรรมชาติ ที่ราบลุ่มแม่น้ำและต้นกำเนิดแม่น้ำลำธาร
จึงเป็นศูนย์กลางการค้าและทางวัฒนธรรมของชาติ มีความหลากหลายของอาหาร ทั้งเค็ม เผ็ด
เปรี้ยวหวาน และมีการแต่งกลิ่นด้วยเครื่องเทศต่าง ๆ
การบริการอาหารในโรงแรม
1. อาหารเช้า เวลา 8.00-9.00 น.
1.1 อาหารเช้าแบบยุโรป = น้ำผลไม้ ขนมปัง แยมหรือเนย กาแฟ ไม่มีเนื้อสัตว์และผลไม้
1.2 อาหารเช้าแบบอเมริกัน = น้ำผลไม้ คอร์นเฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน ชา กาแฟ
2. อาหารก่อนกลางวัน เวลา 9.30-11.30 น.
3. อาหารกลางวัน เวลา 11.30-14.00 น. (ไม่หนักเกินไป)
** A la carte สั่งตามใจ หรือ Table d’hôtel อาหารชุด **
- จานเดียว
- อาหารกลางวันแบบ 2 จาน
- อาหารกลางวันแบบ 3 จาน
- อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์
4. อาหารว่างหรือน้ำชา เวลา 15.00-17.00 น. ชา กาแฟ เค้ก หรือผลไม้
5. อาหารค่ำ เวลา 19.00 น. มื้อหนักสุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
5.1 อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
5.2 ซุป (Soup)
5.3 อาหารจานหลัก (Entrees) อาหารทะเล
5.4 อาหารจานหลัก (Main Course) ประเภทเนื้อสัตว์ แป้ง
5.5 ของหวาน (Dessert)
5.6 ชา กาแฟ (Tea & Coffee)
** ชั้นแรงงานในอังกฤษใช้คำว่า Dinner - อาหารมื้อเที่ยง
6. อาหารเย็น (Supper) อาหารมื้อเบา ๆ หลังมื้อเย็น (มื้อสุดท้ายของวัน)
** ในอังกฤษอาหารมื้อเย็น เรียกว่า tea
ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึก (Shopping and Souvenir Business)
คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค
ความเป็นมา
การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในสมัยโบราณจะกระทำในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนระหว่างของ
กับของ หรือที่เรียกว่า Barter System
ต่อมาเมื่อมีการนำเอาใช้โลหะมีค่า มากำหนดค่าและใช้เป็นสื่อกลางของการซื้อขายแลกเปลี่ยน
ระบบBarter System จึงค่อยๆ เลิกไป
สถานที่ที่เกิดกิจกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า
อาจมีพัฒนาการมาตั้งแต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนเมื่อมีผู้ที่มีความต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถ
สนองตอบต่อความต้องการนั้น อาจไม่จำกัดสถานที่ เมื่อมีทั้งผู้ต้องการสินค้า และผู้ที่สามารถตอบ
สนองต่อความต้องการนั้นมีเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดบริเวณที่สามารถรวมเอาทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
เป็นจำนวนมากมาไว้ที่เดียว หรือ ตลาดเพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการเลือกซื้อสินค้า
ห้างสรรพสินค้า เป็นรูปแบบของธุรกิจการจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นจากยุโรปก่อนแล้ว
ค่อยแพร่ขยายเข้ามาสู่ อเมริกาและเอเชียในที่สุด เป็นพัฒนาการของการจำหน่ายสินค้าที่รวมมา
อยู่ในบริเวณเดียว มีการจัดสินค้าเป็นแผนก เป็นหมวดหมู่ ซึ่งง่ายต่อการค้นหาของลูกค้า
และมีการบริหารงานอย่างเป็นระบบ มีการส่งเสริมการขาย การบริการลูกค้า
ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
ห้างสรรพสินค้า ( Department Store) หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลาย
อย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้ามัก
ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชน
ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้ง
ห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
ร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop) และร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่
ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอด
อากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูง แต่ขายถูก และมักเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้า
- กิจกรรมการซื้อสินเป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ
- เป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
- ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
- ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่น
ธุรกิจสินค้าที่ระลึก
คือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิม
ของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน มักถูกพัฒนาจากศิลป
หัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิต
และใช้แรงงานภายในท้องถิ่น
ประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกของไทย
แบ่งจากจุดประสงค์ในการสร้าง ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์ที่ต้องการใช้สอยเอง หรือเพื่อพิธีกรร
มทางศาสนา ความเชื่อ หรือเพื่อจัดจำหน่าย ทำให้ผลผลิตมีรูปลักษณะที่แตกต่างกัน 3 ลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามประเพณีนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นตามสมัยนิยม
- รูปลักษณะที่สร้างขึ้นเฉพาะ
แบ่งจากวัสดุและเทคนิควิธีการสร้าง มี 3 ลักษณะได้แก่
- สร้างหรือดัดแปลงจากวัสดุธรรมชาติ
- สร้างจากวัสดุสังเคราะห์
- สร้างจากเศษวัสดุ
แบ่งจากรูปลักษณะที่ปรากฏ มี 6 ลักษณะได้แก่
- รูปลักษณะตัวอักษร
- รูปลักษณะทรงเรขาคณิต
- รูปลักษณะตามลัทธิและความเชื่อ
- รูปลักษณะธรรมชาติ
- รูปลักษณะผลผลิตและเครื่องมือเครื่องใช้
- รูปลักษณะอิสระ
แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้ คือ
- ประเภทบริโภค
- ประเภทประดับตกแต่ง
- ประเภทใช้สอย
- ประเภทวัตถุทางศิลปะ
ความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก มีดังนี้
ทางสังคมและวัฒนธรรม ช่วยสร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของ
ประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์ ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน ทำให้รู้จักอนุรักษ์
ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจ สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์
ของประเทศไปสู่โลก
ทางระบบการท่องเที่ยว ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์
ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่งทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ
หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ
ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทาง
หรือนักท่องเที่ยว
ธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง
สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
2.สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาด
ที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
ธุรกิจบันเทิงเพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที
ธุรกิจกีฬาตามปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยว
ธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น