6 กันยายน 2553

บทที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

องค์ประกอบหลักประเภทแรก คือ แหล่งท่องเที่ยว

มีคำจำกัดความอยู่ 3 คำ


1. ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources)
หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งในรูปธรรมและนามธรรม

มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อการพักผ่อนและประกอบกิจกรรมนันทนาการ อันนำมา

ซึ่งความพึงพอใจและความสุขในรูปแบบต่างๆได้

2. จุดหมายปลายทาง (Destination)
หมายถึง สถานที่ใดที่หนึ่ง อาจเป็นสถานที่เฉพาะหรือสถานที่ทั่วไป หลายๆสถานที่ต่อ
การเดินทางครั้งหนึ่ง

3. สิ่งดึงดูดใจทางด้านการท่องเที่ยว (Tourist Attraction)
หมายถึง สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อความพึงพอใจ

ความหมายของแหล่งท่องเที่ยวก็คือ
สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวหรือประกอบกิจกรรมต่างๆ เพื่อ

สนองตอบต่อจุดประสงค์ด้านความพึงพอใจ หรือด้านนันทนาการ อาจเป็นสถานที่ใดที่หนึ่งเฉพาะ หรือ

หลายๆที่ก็ได้ ทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเป็นแหล่งธรรมชาติ

ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว สามารถแบ่งได้ด้วยลักษณะต่างๆ ได้แก่

ขอบเขต (Scope)

-จุดมุ่งหมายหลัก (Primary Destination) คือสถานที่ต้องดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ให้พวกเขามุ่งมาในสถานที่นั้น
-จุดมุ่งหมายรอง (Secondary Destination or Stopover Destination) คือสถานที่แวะพัก เป็นเวลาสั้นๆ

ความเป็นเจ้าของ
อาจแบ่งแหล่งท่องเที่ยว ทั้งที่เป็นธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ตามความเป็นเจ้าของ

ทำให้ทราบว่า แหล่งเงินสนับสนุนมาจากไหน หรือรายได้ต่าง ๆตกอยู่ที่ใคร

เจ้าของแหล่งท่องเที่ยวแบ่งออก ดังนี้

1. รัฐบาล เป็นผู้ดำเนินการอุทยานแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเงินทุนสนับสนุนการ
ดำเนินงานอาจมาจากเงินงบประมาณ การเก็บค่าเข้าชม ภาษี หรือการบริจาค

2.องค์การที่ไม่หวังผลกำไร วังสวนผักกาดอยู่ในความควบคุมดูแลและดำเนินงานโดยองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร คือ มูลนิธิจุมพฎบริพัตร

3.เอกชน ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก ไนต์คลับ สวนสัตว์ บางแห่งดำเนินงานโดยเอกชน ที่มุ่งหวังผลกำไร
อันอาจจะมาจาก ค่าเข้าชม ค่าเครื่องเล่น ค่าอาหารและน้ำ ค่าขายของที่ระลึก

ความคงทนถาวร (Permanency)

แบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว ประเภทที่เป็นสถานที่ (Sties) มีความคงทนถาวรกว่าประเภทที่

เป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่างๆ งานเทศกาลมักมีช่วงเวลาการดำเนินงาน อาทิ เทศกาลสงกรานต์

จัดเฉพาะวันที่ 12-14 เมษายน

ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะสนองความต้องการหรือจุดประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างกัน แหล่งท่อง
เที่ยวที่ยังคงได้รับความนิยมอาจจะมีลักษณะที่เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ
วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ ชุมชนและเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. แหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ เป็นสถานที่ที่เกิดเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ

รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรุงแต่งเพิ่มเติมจากธรรมชาติ

2. แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น อาทิ พระบรมรูปทรงม้า

3. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม งานประเพณีต่างๆ

มรดกโลกในประเทศไทย

1. ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1991

2. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1991

3. อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1991

4. แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1992

5. ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.2005

โบราณสถานในประเทศไทยนั้น กรมศิลปากรแบ่งโบราณสถานออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้

1. โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ คือ สถานที่ที่มีความสำคัญสูงสุด หากขาดซึ่งโบราณสถานนี้ไป

จะเป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวง

2. ประวัติศาสตร์หรือเป็นที่เคารพอย่างสูงในชาติ ซึ่งประชาชนจะต้องร่วมรำลึกถึง

3. อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ คือ อาคารสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมอันทรงคุณค่า

4. ย่านประวัติศาสตร์ คือ พื้นที่ที่มีความหมายแน่นทางสถาปัตยกรรม เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ การ

วางผังเมือง และสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น โดยมีอาคาร สิ่งก่อสร้างในพื้นที่ต่างๆ รวมอยู่ด้วย

5. อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึง พื้นที่ที่มีเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ องค์ประกอบทาง

สถาปัตยกรรมและวิศวกรรมรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เกิดเองตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น

6. นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ คือ เมืองหรือนครที่มีแบบอย่างทางวัฒนธรรม การวางผังเมือง

สาระสำคัญทางประวัติศาสตร์ และองค์ประกอบของเมือง สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และชีวิตควา

เป็นอยู่ อาทิ จังหวัดอยุธยา

7. ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ หมายถึง แหล่งโบราณคดี

ประวัติศาสตร์และซากโบราณสถา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น