8 กันยายน 2553

บทที่ 9 ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ

1.ช่วยทำให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภายในประเทศ (Local Income)

2.ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล (Government Receipt)

3.ช่วยให้เกิดการจ้างงาน (Employment)

4.ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่ (Creating new job)

5.ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Earning)

6.ช่วยให้เกิดภาวะดุลชำระเงิน (Balance of Payment)

7.ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase of Living Expenses)

8.ราคาที่ดินแพงขึ้น

9.มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวต่างชาติ

10.ทำให้สูญเสียรายได้ออกนอกประเทศ

11.รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ เป็นไปตามฤดูกาล

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อสังคม

1.เป็นการพักผ่อนหย่อนใจของบุคคล ลดความเครียด

2.ช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์และช่วยกระตุ้นความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลในชาติต่างๆ

3.ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น

4.มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น

5.คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น จากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการในแหล่งท่องเที่ยวและบริเวณใกล้เคียง

การท่องเที่ยวช่วยให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์ การท่องเที่ยวเป็นหนทางไปสู่สันติภาพ

(Tourism is a passport to peace)

1.ช่วยให้สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นดีขึ้น

2.ช่วยเสริมอาชีพให้คนในท้องถิ่น การกระจายรายได้ไปสู่ท้องถิ่น การจ้างงาน ทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้น

3.การท่องเที่ยวจะช่วยลดปัญหาการอพยพเข้าไปทำงานในเมืองหลวง

4.ปัญหาการบิดเบือนหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว

5.ปัญหาความไม่เข้าใจและการขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นกับนักท่องเที่ยว

6.ช่วยให้เกิดการก่อสร้างสิ่งดึงดูดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่

7.ปัญหาสังคมต่างๆ อาทิ ยาเสพติด โรคเอดส์

ผลกระทบด้านบวกจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม

1. เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว วัฒนธรรมถูกรื้อฟื้นหรือไม่เลือนจางหายไป

2.มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น

3.ช่วยเผยแพร่ National Identity

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม

1.คุณค่าของงานศิลปะลดลง

2.วัฒนธรรมประเพณีที่ถูกนำเสนอขายในรูปแบบของสินค้าเน้นตอบสนองนักท่องเที่ยว

3.วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัฒนธรรมใหม่ (Acculturate) ของคนในท้องถิ่น

4.เกิดภาวะตระหนกและสับสนทางวัฒนธรรม (Culture Shock)

5.การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้น (Demonstration Effect)

การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรม(Demonstration Effect)

- คนพื้นถิ่นมีโอกาสพบปะกับนักท่องเที่ยว และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เข้ามา เช่น ชาวเขาย่อมแต่

ชุดชาวเขาดั้งเดิม แต่พอนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อมาเยี่ยมชมมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่าชาวเขา

บางส่วนสวมกางเกงยีนต์และเสื้อยืดแทนที่จะใส่ชุดชาวเขา

- ผู้หญิงในหมู่บ้านนุ่งผ้าซิ่นทอเอง ต่อมาความเจริญมีขึ้นเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปแทน

ผลกระทบทางบวกจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม

1.เกิดการปรับปรุงและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์และกายภาพให้ดีขึ้น

2.มีการลงทุนจากภาครัฐในด้านสาธารณูปโภคเพื่อเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ

3.เกิดการพัฒนาพื้นที่ธรรมชาติ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า

4.เกิดมีการปรับปรุงแก้ไข มาตรการ ระเบียบตลอดจนกฎหมายต่างๆ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระยะยาว

5.เกิดความตระหนักในการกำจัดของเสียประเภทต่าง อาทิน้ำเน่า ขยะมูลฝอย โดยเฉพาะที่พักหรือร้านอาหารที่อยู่ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว

6.เกิดโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยว

7.การตื่นตัวจัดตั้งมูลนิธิพิทักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ผลกระทบด้านลบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อม

ด้านกายภาพ

1.พื้นที่ธรรมชาติบางส่วนถูกทำลาย เพื่อการสร้างที่พักในแหล่งธรรมชาติ

2.กิจกรรมนันทนาการบางประเภทมีผลต่อธรรมชาติ อาทิ การตั้งแคมป์ไฟ การตัดต้นไม้

3.การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอาจส่งผลต่อภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ

4.การท่องเที่ยวแบบทัวร์ป่า อาจส่งผลต่อธรรมชาติในแง่ดินถล่ม การบุกรุกพื้นที่

ปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ธรรมชาติ

1.การรบกวนธรรมชาติอันเกิดจากการไม่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าเยี่ยมชมธรรมชาติ

2.เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากที่ดินในแนวทางที่ไม่เหมาะสม

3.เกิดการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวบางราย

ด้านมลภาวะ

1.ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ที่เกิดจากนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการที่กำจัดไม่เหมาะสม

ทำลายภูมิทัศน์ของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งกลิ่น และภาพ

2.น้ำเน่าเสีย จากผู้ประกอบการต่างๆ อาทิ โรงแรม ที่พัก ร้านอาหาร ฯลฯ

3.อากาศเสีย จากการก่อสร้างเนื่องมาจากการขยายตัวของแหล่งท่องเที่ย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น