6 กันยายน 2553

บทที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว


แรงจูงใจ

แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว คือ ปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยว มีความต้องการจะซื้อสินค้า เป็นแนวคิดที่เป็นแบบ

ลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยากับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา ซึ่งหมายถึงเครือข่ายของพลังงานทาง

วัฒนธรรมและพลังงานทางชีววิทยา

พลังด้านจิตวิทยา

เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม การแสดงออกถึงความรู้สึก ความต้องการต่างๆ เช่น ความต้องการที่จะออกกำลัง

กายด้วยการว่ายน้ำ แรงจูงใจที่จะมาพักผ่อนที่เกาะสมุยเป็นนักท่องเที่ยวจากสวีเดน ต้องการพักผ่อนและหา

ที่แปลกใหม่ ลดความวิตกกังวล

พลังทางด้านสังคมวิทยา

คือ เป็นเรื่องความรู้สึก มีความต้องการที่จะได้ชื่อว่า โก้เก๋ ทันสมัย ไม่ตกยุค เช่น การมาเที่ยวในเอเชีย กำลัง

เป็นสมัยนิยมของคนหนุ่มสาวในยุโรป การเดินทางมายังเอเชียต้องใช้ความสามารถ และอุทิศตัวมากกว่าการ

เดินทางไปท่องเที่ยวทางทะเลในประเทศใกล้บ้าน

ทฤษฏีต่างๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว

1.ทฤษฏีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น (Hierachy of needs ของ Abeaham Maslow ) พูดถึงความต้องการของมนุษย์ 5 ขั้น

-ความต้องการทางสรีระ หรือ ปัจจัย 4

-ความต้องการได้รับความปลอดภัย เป็นความต้องการลดความวิตกกังวล ปราศจากความกลัว ความวุ่นวายต่างๆ

-ความต้องการด้านสังคม ได้รับความยอมรับจากสังคม ความต้องการมีเพื่อน

-ความต้องการทางด้านเกียรติยศชื่อเสียง ต้องการมีตำแหน่ง เกียรติยศชื่อเสียง การยอมรับเชื่อถือ

-ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จ เพื่อต้องการพัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง

Lundberg (Lendberg, Tourism Business, p l27) เชื่อว่าพฤติกรรมการท่องเที่ยวเกิดจากความต้องการขั้น

สูงสุดของคนเรา ซึ่งได้แก่ ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ต้องการพัฒนาบุคลิกภาพ

กระทำสิ่งที่ท้าทาย ทำสิ่งแปลกใหม่จากความจำเจในชีวิตประจำวัน การท่องเที่ยวขั้นนี้จึงสามารถสนอง

ความต้องการในระดับสูงสุดได้เพียงบางคน แต่พฤติกรรมบางอย่าง เช่น การเล่น Jet boat การล่องแก่ง เดิน

ทางทั่วประเทศ เล่นบันจี้จ้ำ ฯลฯ เกิดจากความต้องการกระทำในสิ่งที่ท้าทายความสามารถตนเอง

2. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)

Philip Pearce ประยุกต์จากทฤษฎี Maslow ในขั้น 1 ถึง ขั้น4 เกิดขึ้นทั้งจากตัวบุคคลเอง และการชักนำจาก

คนอื่น ยกเว้นความต้องการขั้นสูงสุด เป็นการเกิดจากตัวบุคคลเป็นผู้กำหนด

3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) ของ Crompton คล้ายกับของ Maslow มี 6 ประเภท

1. หลีกหนีสภาพแวดล้อมที่จำเจ เสริมสร้างสังสรรค์ทางสังคม

2. สำรวจและประเมินตนเอง

3.การพักผ่อน

4. ความต้องการเกียรติภูมิ

5.ความต้องการ ถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม

6.กระชับความสัมพันธ์ของญาติ

4.แรงจูงใจในทัศนะของ Swarbrooke

1. แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ (Physical)

2. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม

3. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง (Emotional)

4. การท่องเที่ยวเพื่อได้มาเพื่อสถานภาพ

5. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง

6. แรงจูงใจส่วนบุคคล

แนวโน้มแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการ โดย Pearce , Morrision และ Rutledge



1.แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มรดกโลก แบ่งออกเป็นสิ่งแวดล้อมสีน้ำเงิน(ทะเล) และสิ่งแวดล้อมสีเขียว (ป่า เขา น้ำตก)

2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น ความใกล้ชิดมีมากขึ้น โดยเฉพาะนักเดินทางวัยหนุ่มสาว นักเดินทางประเภทสะพายเป้ (backpacker)

3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน ได้เห็นวัฒนธรรมอื่นเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักเดินทางชาวเอเชีย โดยเฉพาะชาวจีนและชาวเกาหลี ซึ่งเมื่อก่อนไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับวัฒนธรรมต่างชาติ

4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว บางรูปแบบสามารถเห็นได้ว่าช่วยส่งเสริมความสัมพันธภาพภายในครอบครัว

5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย ชายทะเลที่มีหาดทรายกับแสงแดด และในรูปแบบอื่น เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การไปชมปะการัง หรือการเดินป่าดูนก เป็นต้น

6. แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ เช่น เดินทางไปเรียนภาษา การทำอาหาร ดำน้ำ ตกปลา ตีกอล์ฟ เป็นการท่องเที่ยวที่เพิ่มพูนทักษะ

7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี การเข้ารับการบำบัดในศูนย์สปาต่างๆ การเข้าคอร์สลดน้ำหนัก

8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย จากโรค โจร การก่อการร้าย นักท่องเที่ยวจะเลี่ยงไม่ไปเที่ยวในประเทศที่มีปัญหาความไม่สงบทางการเมือง

9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม องค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งของแรงจูงใจมนุษย์ ประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวสามารถสร้างภาพพจน์ให้กับบุคคลได้

10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง เช่น การกิน การดื่ม การซื้อของ เพื่อฉลองความสำเร็จหรือเพื่อชดเชยกับสิ่งที่ขาดไปในโลกที่มีแต่งานและข้อจำกัดต่าง ๆ

ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย

นักเดินทางประเภท Back packers กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในออสเตรีย สรุปได้ 4 มิติคือ

1. การหลีกหนี (Escape) เป็นการหนีจากความรับผิดชอบหรือหยุดที่จะเลือกการตัดสินใจที่สำคัญในชีวิตชั่วคราว

2.การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม เน้นไปทางด้านสิ่งแวดล้อมและพจญภัยเป็นหลัก

3.การทำงาน (Employment) เป็นการจูงใจทางด้านการทำงานในระหว่างการท่องเที่ยวการทำงานระหว่างเรียน และพัฒนาทักษะการทำงาน

4.เน้นการคบหาสมาคม (Social focus) นักท่องเที่ยวแบกเป้เป็นพวกที่ชอบคบหาผู้คนต้องการเพื่อนและทำความรู้จักคนในท้องถิ่น

โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานที่รองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบถือเป็นส่วนการสนับสนุนให้การท่องเที่ยว

สามารถดำเนินไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐานหลักในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่

1. ระบบไฟฟ้า เพียงพอ ทั่วถึง และใช้การได้ดี หากเจอในกรณีที่เกิดความต้องการใช้ปริมาณมากต้องเตรียมอุปกรณ์ปั่นไฟให้พอ ควรมีการกำหนดเวลาปิดเปิดเพื่อประหยัดพลังงาน วางแผนใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสม

2. ระบบประปา ต้องมีสะอาด ถูกหลักอนามัย มีการกระจายอย่างทั่วถึงเพื่อให้บริการความต้องการใช้น้ำที่แตกต่างกันไป

3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม หมายรวมถึง โทรศัพท์มีสาย / ไร้สาย ไปรษณีย์ ไปรษณีย์อีเลกโทรนิกส์ (Email)

4. ระบบการขนส่ง

5. ระบบสาธารณสุข ต้องทันสมัย สะดวก และปลอดภัย มีหน่วยรักษาพยาบาลเบื้องต้น

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค

การที่บนโลกมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดภูมิทัศน์ทางธรรมชาติและลักษณะทาง

วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ประกอบกับมนุษย์มักต้องการเดินทางไปในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างส่งผลให้เกิด

การเดินทางท่องเที่ยวไปยังบริเวณต่างๆ บนผิวโลก

ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และปัจจัยทางวัฒนธรรม

เป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยดึงดูดและผลักดันให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนเดินทาง

1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ เป็นสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ และสำคัญในการสร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่น่าดึงดูดใจ

1.1 ลักษณะภูมิประเทศ ในส่วนต่างๆ ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

1.2 ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ อาจทำให้พบสภาพภูมิประเทศที่ สวยงามแตกต่างกัน

2. ปัจจัยทางวัฒนธรรม หมายถึง วิธีการดำเนินชีวิต (way of life) ของคนในสังคม นับตั้งแต่วิธีกินอยู่ การกิน การแต่งกาย การทำงาน การปฏิบัติที่สืบต่อกันมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น